มีคนถามกันมาเยอะครับ สำหรับเรื่อง ลิขสิทธิ์ แม่นาค
พอดีมีพี่ทีมงานคนหนึ่งได้เขียนไว้ใน web board ของ dreambox
เลยเอามาแบ่งปันครับ
สำหรับเรื่องนี้อยากจะขอให้รายละเอียดนิดหนึ่งนะคะ เกี่ยวกับตำนานนางนาก หรือ นาค พระโขนง ว่า เรื่องราวเกี่ยวกับแม่นาคนี้ปรากฎขึ้นครั้งแรกเป็นลายลักษณ์อักษรจาก
ข้อเขียนของก.ศ.ร.กุหลาบ ที่เล่าเรื่องของนางนาก (สมัยนั้นใช้ก.ไม่ใช่ค.) ว่า มีข่าวเล่าลือว่าผีนางนากที่พระโขนงดุ แต่ที่จริงเป็นเพียงลูกหลานที่กลัวว่า พ่อ คือ สามีนางนาก ชื่อว่านายชุ่ม
จะมีภรรยาใหม่ จึงทำผีให้คนหวาดกลัว ตามที่ก.ศ.ร.กุหลาบเขียนว่าดังนี้ค่ะ (อำแดงนาก) “เปนภรรยานายชุ่ม ตัวโขนทศกรรฐ์ในพระจ้าวบรมวงศ์เธอ จ้าวฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี อำแดงนากมีครรภ์ คลอดบุตรถึงอนิจกรรม นายชุ่ม ทศกรรฐ์ สามีนำศพอำแดงนากภรรยาไปฝังที่ป่าช้าวัดมหาบุด ๆ นี้พระศรีสมโภช (บุด) วัดสุวรรณ เปนผู้สร้างวัดมหาบุดแต่ท่านยังเปนมหาบุดในรัชกาลที่ 2....”
รัชกาลที่ 6 ก่อนครองราชย์ ท่านเคยทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง นากพระโขนงที่สอง ไว้ในหนังสือ ทวีปัญญา ปี 2447 ฉบับของพระองค์ท่าน ใช้ชื่อสามีนากว่าโชติ เป็นกำนัน
อย่างไรก็ตาม ตำนานเรื่องนี้ก็คงเล่ากันมาเรื่อยๆ จนมาโด่งดังก็คือบทละครร้องเรื่อง อีนากพระโขนง ของ กรมพระนราธิปพงศ์ประพันธ์ ในปี 2455 ซึงท่านก็นำมาจากตำนานนี่ละ ในบทของท่านซึ่งใช้นามปากกาว่า หมากพญา นั้น ได้ให้ชื่อ สามีนางนาก ว่า นายมาก และ ยังได้พูดถึง การเือ้อมมือยาวไปเก็บมะเดื่อ (ไม่ใช่มะนาว) มาตำน้ำพริกให้พ่อมากกิน ส่วนเรื่องมะนาวนั้น ตามบทของท่านได้พูดถึงว่า มีคนให้มะนาวเสกพ่อมากมา เมื่อบีบแล้วจะเห็นความจริงว่า อาหารบูดเน่า และจะได้รู้ว่า แม่นากนั้นตายไปแล้ว และในบทละครนี้ยังมีฉากคลาสสิคเช่นมีหมอผีมาจับแม่นากลงหม้อด้วย
และมีผีอื่นๆมาด้วยเยอะแยะ ในตอนจบของเรื่องนั้น ท่านนิพนธ์ให้ ทั้งหมดเป็นความฝันของพ่อมากที่เมามายและฝันร้ายว่าตนเองเป็นผี คือ จบแบบ คอเมดี้ ค่ะ
บทละครร้องของท่านนั้นอ่านแล้วสนุกสนานมากค่ะ เมือทำเป็นละครคณะปรีดาลัยก็ทำได้สนุกและน่ากลัวมาก ทำให้โด่งดังไปทั่ว จากนั้น จึงมีคนนำเรื่องราวของนางนากนี้ ไปทำหนัง ละคร และ ลิเก มากมาย คุณพ่อของคุณยอดสร้อย คือ คุณเสน่ห์ ท่านก็นำตำนานเรื่องแม่นาคนี้มาสร้างเป็นหนัง และ เป็นที่นิยมมากมายจนต่อกันมาอีกหลายภาค เรียกได้ว่าในยุคนั้น คุณปรียาเป็นสัญลักษณ์ของแม่นาคเลยทีเดียว หลังๆมานี้ก็ยังมี หนังทีเกียวกับแม่นาค (ไม่แน่ใจค่ะว่า เปลี่ยนเป็น ค. ตั้งแต่เมื่อไร แต่เห็นที่ศาลแม่นาค ก็ใช้้ค. เราก็เลยใช้ตามความนิยม) มากมาย รวมทั้งหนังของคุณนนทรีย์ด้วย (แต่คุณนนทรีย์ใช่ ก. ตามฉบับดั้งเดิม ) และ ยังมีโอเปร่าของคุณสมเถาอีก เข้าใจว่าทุกคนก็คงไปไหว้ขอแม่นาคกันที่ศาลเพราะคิดว่าเป็นเรื่องตำนาน ไม่ได้มีลิขสิทธิ์ อันใด และ แต่ละคนก็อาจจะตีความแม่นาคในแบบของตนเองกัน คงจะไม่มีใครที่ตั้งใจจะละเมิดลิขสิทธิหรอกค่ะ ทีมงานของเราเองก่อนการแถลงข่าวในปี 2550 ก็ได้ไปไหว้ขอแนุญาตย่านาคและยังพูดกันว่า เราไปขอลิขสิทธิ์ย่านาคมาแล้วนะ : )
ฉบับของ ดรีมบอกซ์ นั้น เราใช้ชื่อ มาก ตามฉบับกรมพระนราค่ะ แต่บทละครของเราจะตีความการ"ไม่พร้อมจะยอมตาย" ของแม่นาคในแบบของเราเอง ไม่ได้เป็นคอเมดี้ค่ะ เป็นดราม่า ในฉบับของดรีมบอกซ์นั้นนอกจากนาคและมากแล้วก็ไม่ได้มีชื่อซ้ำกับ
ตัวละครอื่นๆอีก
อย่างไรก็ตาม เราเองก็ไ่ม่แน่ใจเหมือนกันว่า การใช้ชื่อมาก ตามฉบับของ กรมพระนรา หรือ การยื่นมือมาเก็บมะเดื่อนี้ จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ แต่เดิมนั้นเราคิดว่าคงไม่เป็นไรเพราะ ชื่อนาคและมากนี้ ได้ใช้กันมาตลอด รวมทั้งฉากคลาสสิค ต่างๆที่ว่ามานี้ด้วย แต่ในวันนี้เมื่อมีข่าวเรื่องลิขสิทธิ์ขึ้นมาทางเราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และ ตั้งใจไว้ว่าจะสอบถามไปทางทายาทในราชสกุลของท่านค่ะ เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย หากมีอะไรที่คืบหน้าจะมาแจ้งให้ทุกคนทราบต่อไปนะคะ เราเองนั้นเป็นคนทีทำงานศิลปะเราจึงเคารพสิทธิ์ของผู้ประพันธ์ทุกท่าน
มากเท่าที่เราอยากจะให้คนอื่นเคารพสิทธิ์ของเราค่ะ หากเราทำผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการ เราพร้อมที่จะแก้ไขให้ถูกต้องค่ะ
สุดท้ายนี้ขอบคุณมากค่ะที่มีผุ้สนใจและ (คิดเอาเองค่ะว่า) เป็นห่วง ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นผู้ที่อยู่ในข่าวโดยตรงก็ตาม : )
ข้อเขียนของก.ศ.ร.กุหลาบ ที่เล่าเรื่องของนางนาก (สมัยนั้นใช้ก.ไม่ใช่ค.) ว่า มีข่าวเล่าลือว่าผีนางนากที่พระโขนงดุ แต่ที่จริงเป็นเพียงลูกหลานที่กลัวว่า พ่อ คือ สามีนางนาก ชื่อว่านายชุ่ม
จะมีภรรยาใหม่ จึงทำผีให้คนหวาดกลัว ตามที่ก.ศ.ร.กุหลาบเขียนว่าดังนี้ค่ะ (อำแดงนาก) “เปนภรรยานายชุ่ม ตัวโขนทศกรรฐ์ในพระจ้าวบรมวงศ์เธอ จ้าวฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี อำแดงนากมีครรภ์ คลอดบุตรถึงอนิจกรรม นายชุ่ม ทศกรรฐ์ สามีนำศพอำแดงนากภรรยาไปฝังที่ป่าช้าวัดมหาบุด ๆ นี้พระศรีสมโภช (บุด) วัดสุวรรณ เปนผู้สร้างวัดมหาบุดแต่ท่านยังเปนมหาบุดในรัชกาลที่ 2....”
รัชกาลที่ 6 ก่อนครองราชย์ ท่านเคยทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง นากพระโขนงที่สอง ไว้ในหนังสือ ทวีปัญญา ปี 2447 ฉบับของพระองค์ท่าน ใช้ชื่อสามีนากว่าโชติ เป็นกำนัน
อย่างไรก็ตาม ตำนานเรื่องนี้ก็คงเล่ากันมาเรื่อยๆ จนมาโด่งดังก็คือบทละครร้องเรื่อง อีนากพระโขนง ของ กรมพระนราธิปพงศ์ประพันธ์ ในปี 2455 ซึงท่านก็นำมาจากตำนานนี่ละ ในบทของท่านซึ่งใช้นามปากกาว่า หมากพญา นั้น ได้ให้ชื่อ สามีนางนาก ว่า นายมาก และ ยังได้พูดถึง การเือ้อมมือยาวไปเก็บมะเดื่อ (ไม่ใช่มะนาว) มาตำน้ำพริกให้พ่อมากกิน ส่วนเรื่องมะนาวนั้น ตามบทของท่านได้พูดถึงว่า มีคนให้มะนาวเสกพ่อมากมา เมื่อบีบแล้วจะเห็นความจริงว่า อาหารบูดเน่า และจะได้รู้ว่า แม่นากนั้นตายไปแล้ว และในบทละครนี้ยังมีฉากคลาสสิคเช่นมีหมอผีมาจับแม่นากลงหม้อด้วย
และมีผีอื่นๆมาด้วยเยอะแยะ ในตอนจบของเรื่องนั้น ท่านนิพนธ์ให้ ทั้งหมดเป็นความฝันของพ่อมากที่เมามายและฝันร้ายว่าตนเองเป็นผี คือ จบแบบ คอเมดี้ ค่ะ
บทละครร้องของท่านนั้นอ่านแล้วสนุกสนานมากค่ะ เมือทำเป็นละครคณะปรีดาลัยก็ทำได้สนุกและน่ากลัวมาก ทำให้โด่งดังไปทั่ว จากนั้น จึงมีคนนำเรื่องราวของนางนากนี้ ไปทำหนัง ละคร และ ลิเก มากมาย คุณพ่อของคุณยอดสร้อย คือ คุณเสน่ห์ ท่านก็นำตำนานเรื่องแม่นาคนี้มาสร้างเป็นหนัง และ เป็นที่นิยมมากมายจนต่อกันมาอีกหลายภาค เรียกได้ว่าในยุคนั้น คุณปรียาเป็นสัญลักษณ์ของแม่นาคเลยทีเดียว หลังๆมานี้ก็ยังมี หนังทีเกียวกับแม่นาค (ไม่แน่ใจค่ะว่า เปลี่ยนเป็น ค. ตั้งแต่เมื่อไร แต่เห็นที่ศาลแม่นาค ก็ใช้้ค. เราก็เลยใช้ตามความนิยม) มากมาย รวมทั้งหนังของคุณนนทรีย์ด้วย (แต่คุณนนทรีย์ใช่ ก. ตามฉบับดั้งเดิม ) และ ยังมีโอเปร่าของคุณสมเถาอีก เข้าใจว่าทุกคนก็คงไปไหว้ขอแม่นาคกันที่ศาลเพราะคิดว่าเป็นเรื่องตำนาน ไม่ได้มีลิขสิทธิ์ อันใด และ แต่ละคนก็อาจจะตีความแม่นาคในแบบของตนเองกัน คงจะไม่มีใครที่ตั้งใจจะละเมิดลิขสิทธิหรอกค่ะ ทีมงานของเราเองก่อนการแถลงข่าวในปี 2550 ก็ได้ไปไหว้ขอแนุญาตย่านาคและยังพูดกันว่า เราไปขอลิขสิทธิ์ย่านาคมาแล้วนะ : )
ฉบับของ ดรีมบอกซ์ นั้น เราใช้ชื่อ มาก ตามฉบับกรมพระนราค่ะ แต่บทละครของเราจะตีความการ"ไม่พร้อมจะยอมตาย" ของแม่นาคในแบบของเราเอง ไม่ได้เป็นคอเมดี้ค่ะ เป็นดราม่า ในฉบับของดรีมบอกซ์นั้นนอกจากนาคและมากแล้วก็ไม่ได้มีชื่อซ้ำกับ
ตัวละครอื่นๆอีก
อย่างไรก็ตาม เราเองก็ไ่ม่แน่ใจเหมือนกันว่า การใช้ชื่อมาก ตามฉบับของ กรมพระนรา หรือ การยื่นมือมาเก็บมะเดื่อนี้ จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ แต่เดิมนั้นเราคิดว่าคงไม่เป็นไรเพราะ ชื่อนาคและมากนี้ ได้ใช้กันมาตลอด รวมทั้งฉากคลาสสิค ต่างๆที่ว่ามานี้ด้วย แต่ในวันนี้เมื่อมีข่าวเรื่องลิขสิทธิ์ขึ้นมาทางเราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และ ตั้งใจไว้ว่าจะสอบถามไปทางทายาทในราชสกุลของท่านค่ะ เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย หากมีอะไรที่คืบหน้าจะมาแจ้งให้ทุกคนทราบต่อไปนะคะ เราเองนั้นเป็นคนทีทำงานศิลปะเราจึงเคารพสิทธิ์ของผู้ประพันธ์ทุกท่าน
มากเท่าที่เราอยากจะให้คนอื่นเคารพสิทธิ์ของเราค่ะ หากเราทำผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการ เราพร้อมที่จะแก้ไขให้ถูกต้องค่ะ
สุดท้ายนี้ขอบคุณมากค่ะที่มีผุ้สนใจและ (คิดเอาเองค่ะว่า) เป็นห่วง ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นผู้ที่อยู่ในข่าวโดยตรงก็ตาม : )
พอดีพิมพ์ยาวมากเลยเพิ่งเห็นว่าตัวเองเขียนผิด ไปนิดนึง ประโยคนี้ค่ะ "ตอนจบของเรื่องนั้น ท่านนิพนธ์ให้ ทั้งหมดเป็นความฝันของพ่อมากที่เมามายและฝันร้ายว่าตนเองเป็นผี"
ที่ถูกคือ " คิดว่าเมียตัวเองเป็นผี" ขอโทษด้วยนะคะ มันดึกค่ะเลยเบลอ
ที่ถูกคือ " คิดว่าเมียตัวเองเป็นผี" ขอโทษด้วยนะคะ มันดึกค่ะเลยเบลอ
เพิ่มอีกนิดค่ะ สำหรับการค้นคว้าเรื่อง ชื่อของแม่นาคที่นำมาอ้างอิงข้างต้นนี้ นำมาจากการค้นคว้าของ อาจารย์สมบัติ พลายน้อย และ คุณเอนก นาวิกมูล รวมทั้งการอ่านบทละครร้องของกรมพระนราธิปพงศ์ประพันธ์ เรื่อง อีนากพระโขนงค่ะ
ขอเล่าเรื่องมะเดือและมะนาวอีกนิดแล้วกัน เพื่อขยายความเรื่อง การตำน้ำพริกของแม่นาค คือคุณป้าที่ถึงแก่กรรมไปนานแล้วได้เล่าให้ฟังว่า คนสมัยโบราณนั้น ใช้มือเปิบข้าว ไม่ได้มีช้อนส้อมเหมือนทุกวันนี้ ดังนั้นการตำน้ำพริกจึงไม่นิยมบีบมะนาวเพราะน้ำเยอะ เลอะมือ มักจะใช้ผลไม้รสอื่นแทน เช่น มะดัน เพื่อให้มีรสเปรี้ยว ส่วนมะเดื่อนั้นเป็นส่วนผสมที่สำคัญของน้ำพริกอยู่แล้วค่ะ (ตรงนี้ไม่เกี่ยวกับละครหรอกนะคะ แค่เล่าเล่นๆ) อันนี้อาจจะเป็นตำรับของคุณป้าเองก็ได้ แต่ก็น่าสนใจนะคะ
อยากจะเพิ่มเติมนิดหนึ่งนะคะเพื่อความรู้ในเรื่องลิขสิทธิ์ คือ งานวรรณกรรมใดๆก็ตาม เมื่อประพันธ์ขึ้นมาแล้วลิขสิทธิ์ในวรรณกรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น ละคร หรือภาพยนตร์ ย่อมเป็นของผู้ประพันธ์ เช่น ชื่อตัวละคร หรือเหตุการณ์อื่นๆที่ต่างไปจากตำนานหรือธรรมเนียมปฎิบัติที่มีอยู่แต่ดั้งเดิม ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม คือ งานเขียน จะคงอยู่หลังจากผู้ประพันธ์ถึงแก่กรรมแล้ว60ปี ในกรณีของ ละครร้อง อีนากพระโขนง ฉบับกรมพระนรา ท่านได้สิ้นพระชนม์ไปเกินกว่า 60 ปีแล้ว ดังนั้นลิฃสิทธิ์ในงานของท่านจึงตกเป็นของแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม ตามธรรมเนียมปฎิบัติ ทางเราจะเอ่ยถึงความเป็นมาทุกครั้งในสูจิบัตร และสื่อต่างๆที่ให้รายละเอียดละครของเรา เช่น ในหน้าของ total reservation เพื่อเป็นการให้เกียรติและแสดงความเคารพแก่ผู้ประพันธ์ แต่ในกรณีทำแม่นาคคราวนี้ เนื่องจากเราอยากจะให้ทุกอย่างถูกต้องมากขึ้นจึงได้อยู่ในขั้นตอนของการติดต่อเพื่อบอกกล่าวกับทายาทในราชสกุลโดยผ่านทางท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งค่ะ เมื่อค้นคว้าดูมากขึ้น ก็พบว่างานที่ทำในภายหลังนั้น ส่วนใหญ่จะมาจากฉบับของท่านทั้งนั้นค่ะ เช่น "พี่มากขาา" ก็เป็นเวอร์ชั่นของท่านที่มีลูกคู่ร้องเสียงเย็น หรือแม่นาคมือยาวข้ามวงสายสิญจน์ไปเอาหัวหมอผีสองคนมาชนกันดังโป๊ก (ฉบับของเราไม่มีนะคะ: ) ฉบับของท่านมีหมอผีและขรัวอาจารย์มากมายค่ะ มีไปแอบซ่อนในตุ่มด้วย ตอนจบมีเณรมาเอาแม่นาคถ่วงลงหม้อไป สนุกค่ะ สมแล้วที่ละครร้องเรื่องนี้จะโด่งดังไปทั่วในความสนุกสานและน่ากลัวจนเล่นซ้ำแล้วซ้ำอีกมากมาย สำหรับเรื่องนี้อยากจะขอ defend ให้ผู้สร้างงานในยุคก่อนที่จะมีกม.ลิขสิทธิ์ เพราะในสมัยนั้น พวกเราคนไทยยังไม่มีความรู้เรื่องลิขสิทธิ์กันอย่างกว้างขวางเหมือนสมัยนี้ การสร้างงานในยุคก่อนโดยนำบางส่วนมาจากงานก่อนหน้าจึงไม่ควรที่จะกล่าวหาว่าเป็นการละเมิดนะคะ ในสมัยนั้นอาจจะถือว่าเป็นการสร้างเพื่อสืบทอดงานวรรณกรรมในรูปแบบอื่นๆด้วยซ้ำไป บางคนอาจจะเรียกว่าเป็นการ"บูชาครู" คือ เอาบางสว่นของงานครูมาขยายต่อ ไม่เหมือนสมัยนี้ที่พอมีกม.ลิขสิทธิ์ขึ้นมาแล้วถือว่าทุกคนต้องรู้ ถ้าไม่รู้ก็ต้องพยายามศึกษาว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ จะได้ไม่ละเมิดคนอื่นค่ะ ส่วนลิขสิทธิ์ของงานอืนๆที่สร้างสรรค์ขึ้นภายหลังเช่น ชื่อตัวละครตัวใหม่ หรือเหตุการณ์เฉพาะที่เพิ่มเติมขึ้นมา เฉพาะเวอร์ชั่นนั้นๆ ย่อมเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ประพันธ์เช่นกันค่ะ แน่นอนอาจจะมีการพ้องความคิดได้ แต่เชื่อว่าทุกคนที่ทำงานสร้างสรรค์ย่อมรู้ตัวดีอยู่แล้วค่ะว่า งานของตนนั้นเป็นงานสร้างสรรค์ที่บริสุทธิ์หรืออ้างอิงจากงานของท่านอื่น หากทำโดยความรู้เท่าไม่ถึงการก็น่าจะเป็นเรื่องที่ขอโทษกันได้ค่ะ เราเองก็เคยมีปัญหานี้คือ ได้รับลิขสิทธิ์ด้วยวาจาจากทายาทที่ไม่ได้เป็นผู้ถือครองสิทธิโดยตรง แต่เมื่อเราทราบภายหลังเราก็ขอโทษและดำเนินการเรื่องลิขสิทธิ์ให้้ถูกต้องค่ะ ท่านเจ้าของลิขสิทธิ์ก็ไม่ได้โกรธแต่อย่างใดค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น