วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550
แม่นาคพระโขนง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่นาคพระโขนง เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับผีตายท้องกลมที่เป็นที่รู้กจักกันเรื่องหนึ่งของไทยเชื่อว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตัวตนอยู่จริง ปัจจุบันมี ศาลแม่นาค ตั้งอยู่ที่ วัดมหาบุศย์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
เรื่องเล่า
ขณะนั้น มีผัวหนุ่มเมียสาวคู่หนึ่ง อาศัยอยู่กินด้วยกันที่ย่านพระโขนง ฝ่ายสามีชื่อนายมาก ส่วนภรรยาชื่อนางนาค ทั้งสองอยู่กินกันจนนางนาคตั้งครรภ์อ่อน ๆ นายมากก็มีเหตุจำเป็นให้ต้องไปเป็นทหาร ซึ่งเป็นหมายเรียกชายฉกรรจ์จากทางหลวง นายมากจึงต้องไปเป็นทหารประจำการณ์ในบางกอก
นางนาค รอนายมากกลับบ้านจนเวลาผ่านไปหลายเดือน นางนาคท้องก็โตขึ้นเรื่อยๆ จนครบกำหนดคลอด แต่ขณะคลอด ลูกในท้องของนางนาคไม่ยอมกลับหัว เมื่อนางนาคไม่สามารถคลอดลูกได้ตามปกติ เด็กไม่ออก นางนาคจึงตายทั้งกลมพร้อมลูกในท้อง
หลังจากนางนาคได้ตายไป ศพจึงถูกชาวบ้านนำไปฝังไว้ที่ป่าช้าวัดมหาบุศย์ จนวันหนึ่ง มีเด็ก ๆ ซุกซนไปเล่นแถวหลุมฝังศพทำเป็นผีหลอกหลอนกัน จนไปล่วงเกินหลุมศพของนางนาคเข้า กลายเป็นการปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง วิญญาณของนางนาคจึงออกมาสำแดงเดชให้เด็กๆ กลัว
วิญญาณของนางนาคยังคงอาลัยอาวรณ์ถึงนายมากผู้เป็นผัว จึงกลายเป็นวิญญาณที่ไม่สงบ คอยเฝ้าวนเวียนรอผัวกลับบ้าน วิญญาณของนางนาคจึงสิงสู่อยู่ที่บ้านที่นางตายลง รอนายมากผู้เป็นผัวกลับมา
วันหนึ่ง นายมากกลับมาที่บ้าน ได้พบนางนาค และลูกก็ดีใจ นางนาค ด้วยความที่เกรงว่าผัวจะรู้ความจริง จึงคอยพยายามรั้งนายมากให้อยู่ที่บ้านตลอดเวลา ไม่ให้ออกไปพบใคร นายมากก็เชื่อเมีย เพราะรักเมีย ไม่ว่าใครที่มาเจอนายมากจะบอกนายมากอย่างไร นายมากก็ไม่เชื่อว่าเมียตัวเองตายไปแล้ว
ขณะที่นางนาคตำน้ำพริกอยู่บนบ้าน นางนาคทำมะนาวตกลงไปใต้ถุนบ้าน ด้วยความรีบร้อน นางจึงเอื้อมมือยาวลงมาจากร่องบนพื้นเรือนเพื่อเก็บมะนาวที่อยู่ใต้ถุนบ้าน นายมากขณะนั้น บังเอิญผ่านมาเห็นพอดี จึงปักใจเชื่ออย่างเต็มร้อย ว่าเมียตัวเองเป็นผีตามที่ชาวบ้านว่ากัน
นายมากวางแผนหลบหนีผีนางนาค โดยการแอบเจาะตุ่มใส่น้ำให้รั่ว แล้วเอาดินอุดไว้ ตอนกลางคืนจึงทำทีเป็นไปปลดทุกข์เบา แล้วแอบเอาดินที่อุคตุ่มไว้ ให้น้ำไหลออกเหมือนคนปลดทุกข์เบา แล้วแอบหนีไป นางนาคเมื่อเห็นผิดสังเกตจึงออกมาดู ทำให้รู้ว่าตัวเองโดนหลอกเข้าให้แล้ว จึงตามนายมากไปทันที นายมากเมื่อเห็นผีนางนาคตามมาจึงหนีเข้าไปหลบอยู่ในดงหนาด นางนาคไม่สามารถทำอะไรได้เพราะผีกลัวใบหนาด
นายมากหนีไปพึ่งพระที่วัด นางนาคไม่ลดละพยายาม ด้วยความที่เจ็บใจชาวบ้านที่คอยยุแยงตะแคงรั่วผัวตัวเองอีกประการหนึ่ง ทำให้นางนาคออกอาละวาดหลอกหลอนชาวบ้านจนหวาดกลัวกันไปทั้งบาง ซึ่งความเฮี้ยนของนางนาค ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ถูกฝังไว้ระหว่างต้นตะเคียนคู่นั่นเอง
ในที่สุด นางนาคก็ถูกหมอผีฝีมือดีจับใส่หม้อถ่วงน้ำ จึงสงบไปได้พักใหญ่ จนมีตายายคู่หนึ่งที่ไม่รู้เรื่อง เพิ่งโยกย้ายมาอยู่ใหม่ เกิดเก็บหม้อที่ถ่วงนางนาคได้ขณะทอดแหจับปลา นางนาคจึงถูกปลดปล่อยออกมาอีกครั้ง แต่สุดท้าย ก็ถูกสมเด็จพุฒาจารย์(โต)สยบลงไปได้ กะโหลกศีรษะส่วนหน้าผากของนางนาค ถูกเคาะออกมาทำปั้นเหน่ง (หัวเข็มขัดโบราณ) เพื่อเป็นการสะกดวิญญาณ และนำนางนาคสู่สุคติ หลังจากนั้น ปั้นเหน่งชิ้นนั้นก็ตกทอดไปยังเจ้าของอื่นๆ อีกหลายมือ
ตำนานรักของนางนาค นับเป็นตำนานรักอีกเรื่องหนึ่งที่ประทับใจผู้ฟังอย่างมิรู้คลาย กับความรักที่มั่นคงของนางนาคที่มีต่อสามี แม้แต่ความตายก็มิอาจพรากหัวใจรักของนางไปได้
[แก้] เรื่องในประวัติศาสตร์
เอนก นาวิกมูล ผู้ศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ไทยได้ค้นคว้าเอกสารร่วมสมัยเกี่ยวกับเรื่องแม่นาคพระโขนงนี้ พบว่า น่าจะเป็นมาจากเรื่องจริงของลูกสาวคณบดีผู้หนึ่งที่ตายลงขณะยังตั้งท้อง และครอบครัวทางฝ่ายหญิงก็เกรงว่าจะมีคนมาขุดสมบัติของครอบครัวตน จึงให้เด็ก ๆ ในบ้านแสร้งทำเป็นผีหลอกผู้คนที่ผ่านไปมาด้วยการขว้างหินใส่เรือผู้ที่สัญจรไปมาในเวลากลางคืนบ้าง หรือทำวิธีต่าง ๆ นานา เพื่อให้คนเชื่อว่าผีของลูกสาวตนเฮี้ยน แต่ไม่พบหลักฐานว่าหญิงสาวผู้นี้ชื่อ นาค หรือไม่ และสามีของเธอจะชื่อ มาก หรือไม่
[แก้] แม่นาคในความเชื่อทางสังคม
เรื่องราวของแม่นาคพระโขนง ปรากฏอยู่ทั่วไปตามความเชื่อของคนไทยร่วมสมัยและตราบจนปัจจุบัน เช่น เชื่อว่าชื่อสี่แยกมหานาค ที่เขตดุสิตในปัจจุบัน มาจากการที่แม่นาคอาละวาดขยายตัวให้ใหญ่ และล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ก็ยังเคยเสด็จทอดพระเนตรด้วย หรือ เชื่อว่าพระรูปที่มาปราบแม่นาคได้นั้นคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นต้น อีกทั้งยังเชื่อว่า ท่านได้เจาะกะโหลกที่หน้าผากของแม่นาคทำเป็นปั้นเหน่ง เพื่อสะกดวิญญาณแม่นาค และได้สร้างห้องเพื่อเก็บปั้นเหน่งชิ้นนี้ไว้ต่างหาก หรือแม้แต่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชก็ยังได้เขียนบันทึกเอาไว้ว่า เมื่อสมัยเด็ก ๆ ท่านเคยเห็นสิ่งที่เชื่อว่าเป็นรอยเท้าแม่นาคบนขื่อเพดานวัดมหาบุศย์ด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว
ถึงอย่างไร ความเชื่อเรื่องแม่นาคพระโขนง ก็ยังปรากฏอยู่ในความเชื่อของคนไทย ณ วัดมหาบุศย์ เขตสวนหลวง ปัจจุบันนี้ มีศาลแม่นาคตั้งอยู่ ซึ่งเป็นที่สักการะ เคารพบูชาอย่างมากของบุคคลในและนอกพื้นที่ โดยบุคคลเหล่านี้จะเรียกแม่นาคด้วยความเคารพว่า " ย่านาค " บ้างก็เชื่อกันว่าแม่นาคได้ไปเกิดใหม่แล้ว
ในทางบันเทิง เรื่องราวของแม่นาคพระโขนง ได้ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง ในรอบหลายปี อีกทั้งยังสร้างเป็นละครหรือภาพยนตร์ตลกล้อเลียนก็เคยมาแล้ว โดยล่าสุดเป็นละครเวทีโอเปร่าอำนวยการแสดงโดย สมเถา สุจริตกุล ในปี พ.ศ. 2545
[แก้] แม่นาคพระโขนงในสื่อต่าง ๆ
(เท่าที่รวบรวมได้)
ภาพยนตร์
แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2502 นำแสดงโดย ปรียา รุ่งเรือง
แม่นาคคืนชีพ - พ.ศ. 2503 นำแสดงโดย อดุลย์ ดุลยรัตน์, วิไลวรรณ วัฒนพาณิช
วิญญาณรักแม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2505 นำแสดงโดย ปรียา รุ่งเรือง
แม่นาคคนองรัก - พ.ศ. 2511 นำแสดงโดย ปรียา รุ่งเรือง, ชุมพร เทพพิทักษ์, ฤทธิ์ ลือชา
แม่นาคพระนคร- พ.ศ. 2513 นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา, อรัญญา นามวงศ์
แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2516 นำแสดงโดย สุภัค ลิขิตกุล
แม่นาคอาละวาด - พ.ศ. 2516 นำแสดงโดย สุภัค ลิขิตกุล, ยอดชาย เมฆสุวรรณ
แม่นาคอเมริกา - พ.ศ. 2518 นำแสดงโดย กรุง ศรีวิไล, เปียทิพย์ คุ้มวงศ์
แม่นาคบุกโตเกียว - พ.ศ. 2519
แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2521 นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, อรัญญา นามวงศ์, ปรียา รุ่งเรือง
นางนาค ภาคพิศดาร - พ.ศ. 2528 นำแสดงโดย โน้ต เชิญยิ้ม, สีดา พัวพิมล
แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2537 นำแสดงโดย ดาริน กรสกุล, รอน บรรจงสร้าง
นางนาก - พ.ศ. 2542 นำแสดงโดย ทราย เจริญปุระ, วินัย ไกรบุตร
นาค รักแท้/วิญญาณ/ความตาย - พ.ศ. 2548 นำแสดงโดย ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์, ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์
ละครโทรทัศน์
แม่นาคพระโขนง พ.ศ. 2533 ออกอากาศทาง ช่อง 3 นำแสดงโดย ตรีรัก รักการดี, เอกพันธ์ บันลือฤทธิ์
แม่นาคพระโขนง พ.ศ. 2537 ออกอากาศทาง ช่อง 5 นำแสดงโดย ลีลาวดี วัชโรบล
แม่นาคพระโขนง พ.ศ. 2543 ออกอากาศทาง ช่อง 3 นำแสดงโดย กุลณัฐ ปรียะวัฒน์, ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ
แม่นาคพระโขนง พ.ศ. 2543 ออกอากาศทาง ช่อง 7 นำแสดงโดย พัชราภา ไชยเชื้อ, พีท ทองเจือ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่นาคพระโขนง เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับผีตายท้องกลมที่เป็นที่รู้กจักกันเรื่องหนึ่งของไทยเชื่อว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตัวตนอยู่จริง ปัจจุบันมี ศาลแม่นาค ตั้งอยู่ที่ วัดมหาบุศย์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
เรื่องเล่า
ขณะนั้น มีผัวหนุ่มเมียสาวคู่หนึ่ง อาศัยอยู่กินด้วยกันที่ย่านพระโขนง ฝ่ายสามีชื่อนายมาก ส่วนภรรยาชื่อนางนาค ทั้งสองอยู่กินกันจนนางนาคตั้งครรภ์อ่อน ๆ นายมากก็มีเหตุจำเป็นให้ต้องไปเป็นทหาร ซึ่งเป็นหมายเรียกชายฉกรรจ์จากทางหลวง นายมากจึงต้องไปเป็นทหารประจำการณ์ในบางกอก
นางนาค รอนายมากกลับบ้านจนเวลาผ่านไปหลายเดือน นางนาคท้องก็โตขึ้นเรื่อยๆ จนครบกำหนดคลอด แต่ขณะคลอด ลูกในท้องของนางนาคไม่ยอมกลับหัว เมื่อนางนาคไม่สามารถคลอดลูกได้ตามปกติ เด็กไม่ออก นางนาคจึงตายทั้งกลมพร้อมลูกในท้อง
หลังจากนางนาคได้ตายไป ศพจึงถูกชาวบ้านนำไปฝังไว้ที่ป่าช้าวัดมหาบุศย์ จนวันหนึ่ง มีเด็ก ๆ ซุกซนไปเล่นแถวหลุมฝังศพทำเป็นผีหลอกหลอนกัน จนไปล่วงเกินหลุมศพของนางนาคเข้า กลายเป็นการปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง วิญญาณของนางนาคจึงออกมาสำแดงเดชให้เด็กๆ กลัว
วิญญาณของนางนาคยังคงอาลัยอาวรณ์ถึงนายมากผู้เป็นผัว จึงกลายเป็นวิญญาณที่ไม่สงบ คอยเฝ้าวนเวียนรอผัวกลับบ้าน วิญญาณของนางนาคจึงสิงสู่อยู่ที่บ้านที่นางตายลง รอนายมากผู้เป็นผัวกลับมา
วันหนึ่ง นายมากกลับมาที่บ้าน ได้พบนางนาค และลูกก็ดีใจ นางนาค ด้วยความที่เกรงว่าผัวจะรู้ความจริง จึงคอยพยายามรั้งนายมากให้อยู่ที่บ้านตลอดเวลา ไม่ให้ออกไปพบใคร นายมากก็เชื่อเมีย เพราะรักเมีย ไม่ว่าใครที่มาเจอนายมากจะบอกนายมากอย่างไร นายมากก็ไม่เชื่อว่าเมียตัวเองตายไปแล้ว
ขณะที่นางนาคตำน้ำพริกอยู่บนบ้าน นางนาคทำมะนาวตกลงไปใต้ถุนบ้าน ด้วยความรีบร้อน นางจึงเอื้อมมือยาวลงมาจากร่องบนพื้นเรือนเพื่อเก็บมะนาวที่อยู่ใต้ถุนบ้าน นายมากขณะนั้น บังเอิญผ่านมาเห็นพอดี จึงปักใจเชื่ออย่างเต็มร้อย ว่าเมียตัวเองเป็นผีตามที่ชาวบ้านว่ากัน
นายมากวางแผนหลบหนีผีนางนาค โดยการแอบเจาะตุ่มใส่น้ำให้รั่ว แล้วเอาดินอุดไว้ ตอนกลางคืนจึงทำทีเป็นไปปลดทุกข์เบา แล้วแอบเอาดินที่อุคตุ่มไว้ ให้น้ำไหลออกเหมือนคนปลดทุกข์เบา แล้วแอบหนีไป นางนาคเมื่อเห็นผิดสังเกตจึงออกมาดู ทำให้รู้ว่าตัวเองโดนหลอกเข้าให้แล้ว จึงตามนายมากไปทันที นายมากเมื่อเห็นผีนางนาคตามมาจึงหนีเข้าไปหลบอยู่ในดงหนาด นางนาคไม่สามารถทำอะไรได้เพราะผีกลัวใบหนาด
นายมากหนีไปพึ่งพระที่วัด นางนาคไม่ลดละพยายาม ด้วยความที่เจ็บใจชาวบ้านที่คอยยุแยงตะแคงรั่วผัวตัวเองอีกประการหนึ่ง ทำให้นางนาคออกอาละวาดหลอกหลอนชาวบ้านจนหวาดกลัวกันไปทั้งบาง ซึ่งความเฮี้ยนของนางนาค ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ถูกฝังไว้ระหว่างต้นตะเคียนคู่นั่นเอง
ในที่สุด นางนาคก็ถูกหมอผีฝีมือดีจับใส่หม้อถ่วงน้ำ จึงสงบไปได้พักใหญ่ จนมีตายายคู่หนึ่งที่ไม่รู้เรื่อง เพิ่งโยกย้ายมาอยู่ใหม่ เกิดเก็บหม้อที่ถ่วงนางนาคได้ขณะทอดแหจับปลา นางนาคจึงถูกปลดปล่อยออกมาอีกครั้ง แต่สุดท้าย ก็ถูกสมเด็จพุฒาจารย์(โต)สยบลงไปได้ กะโหลกศีรษะส่วนหน้าผากของนางนาค ถูกเคาะออกมาทำปั้นเหน่ง (หัวเข็มขัดโบราณ) เพื่อเป็นการสะกดวิญญาณ และนำนางนาคสู่สุคติ หลังจากนั้น ปั้นเหน่งชิ้นนั้นก็ตกทอดไปยังเจ้าของอื่นๆ อีกหลายมือ
ตำนานรักของนางนาค นับเป็นตำนานรักอีกเรื่องหนึ่งที่ประทับใจผู้ฟังอย่างมิรู้คลาย กับความรักที่มั่นคงของนางนาคที่มีต่อสามี แม้แต่ความตายก็มิอาจพรากหัวใจรักของนางไปได้
[แก้] เรื่องในประวัติศาสตร์
เอนก นาวิกมูล ผู้ศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ไทยได้ค้นคว้าเอกสารร่วมสมัยเกี่ยวกับเรื่องแม่นาคพระโขนงนี้ พบว่า น่าจะเป็นมาจากเรื่องจริงของลูกสาวคณบดีผู้หนึ่งที่ตายลงขณะยังตั้งท้อง และครอบครัวทางฝ่ายหญิงก็เกรงว่าจะมีคนมาขุดสมบัติของครอบครัวตน จึงให้เด็ก ๆ ในบ้านแสร้งทำเป็นผีหลอกผู้คนที่ผ่านไปมาด้วยการขว้างหินใส่เรือผู้ที่สัญจรไปมาในเวลากลางคืนบ้าง หรือทำวิธีต่าง ๆ นานา เพื่อให้คนเชื่อว่าผีของลูกสาวตนเฮี้ยน แต่ไม่พบหลักฐานว่าหญิงสาวผู้นี้ชื่อ นาค หรือไม่ และสามีของเธอจะชื่อ มาก หรือไม่
[แก้] แม่นาคในความเชื่อทางสังคม
เรื่องราวของแม่นาคพระโขนง ปรากฏอยู่ทั่วไปตามความเชื่อของคนไทยร่วมสมัยและตราบจนปัจจุบัน เช่น เชื่อว่าชื่อสี่แยกมหานาค ที่เขตดุสิตในปัจจุบัน มาจากการที่แม่นาคอาละวาดขยายตัวให้ใหญ่ และล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ก็ยังเคยเสด็จทอดพระเนตรด้วย หรือ เชื่อว่าพระรูปที่มาปราบแม่นาคได้นั้นคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นต้น อีกทั้งยังเชื่อว่า ท่านได้เจาะกะโหลกที่หน้าผากของแม่นาคทำเป็นปั้นเหน่ง เพื่อสะกดวิญญาณแม่นาค และได้สร้างห้องเพื่อเก็บปั้นเหน่งชิ้นนี้ไว้ต่างหาก หรือแม้แต่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชก็ยังได้เขียนบันทึกเอาไว้ว่า เมื่อสมัยเด็ก ๆ ท่านเคยเห็นสิ่งที่เชื่อว่าเป็นรอยเท้าแม่นาคบนขื่อเพดานวัดมหาบุศย์ด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว
ถึงอย่างไร ความเชื่อเรื่องแม่นาคพระโขนง ก็ยังปรากฏอยู่ในความเชื่อของคนไทย ณ วัดมหาบุศย์ เขตสวนหลวง ปัจจุบันนี้ มีศาลแม่นาคตั้งอยู่ ซึ่งเป็นที่สักการะ เคารพบูชาอย่างมากของบุคคลในและนอกพื้นที่ โดยบุคคลเหล่านี้จะเรียกแม่นาคด้วยความเคารพว่า " ย่านาค " บ้างก็เชื่อกันว่าแม่นาคได้ไปเกิดใหม่แล้ว
ในทางบันเทิง เรื่องราวของแม่นาคพระโขนง ได้ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง ในรอบหลายปี อีกทั้งยังสร้างเป็นละครหรือภาพยนตร์ตลกล้อเลียนก็เคยมาแล้ว โดยล่าสุดเป็นละครเวทีโอเปร่าอำนวยการแสดงโดย สมเถา สุจริตกุล ในปี พ.ศ. 2545
[แก้] แม่นาคพระโขนงในสื่อต่าง ๆ
(เท่าที่รวบรวมได้)
ภาพยนตร์
แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2502 นำแสดงโดย ปรียา รุ่งเรือง
แม่นาคคืนชีพ - พ.ศ. 2503 นำแสดงโดย อดุลย์ ดุลยรัตน์, วิไลวรรณ วัฒนพาณิช
วิญญาณรักแม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2505 นำแสดงโดย ปรียา รุ่งเรือง
แม่นาคคนองรัก - พ.ศ. 2511 นำแสดงโดย ปรียา รุ่งเรือง, ชุมพร เทพพิทักษ์, ฤทธิ์ ลือชา
แม่นาคพระนคร- พ.ศ. 2513 นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา, อรัญญา นามวงศ์
แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2516 นำแสดงโดย สุภัค ลิขิตกุล
แม่นาคอาละวาด - พ.ศ. 2516 นำแสดงโดย สุภัค ลิขิตกุล, ยอดชาย เมฆสุวรรณ
แม่นาคอเมริกา - พ.ศ. 2518 นำแสดงโดย กรุง ศรีวิไล, เปียทิพย์ คุ้มวงศ์
แม่นาคบุกโตเกียว - พ.ศ. 2519
แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2521 นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, อรัญญา นามวงศ์, ปรียา รุ่งเรือง
นางนาค ภาคพิศดาร - พ.ศ. 2528 นำแสดงโดย โน้ต เชิญยิ้ม, สีดา พัวพิมล
แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2537 นำแสดงโดย ดาริน กรสกุล, รอน บรรจงสร้าง
นางนาก - พ.ศ. 2542 นำแสดงโดย ทราย เจริญปุระ, วินัย ไกรบุตร
นาค รักแท้/วิญญาณ/ความตาย - พ.ศ. 2548 นำแสดงโดย ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์, ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์
ละครโทรทัศน์
แม่นาคพระโขนง พ.ศ. 2533 ออกอากาศทาง ช่อง 3 นำแสดงโดย ตรีรัก รักการดี, เอกพันธ์ บันลือฤทธิ์
แม่นาคพระโขนง พ.ศ. 2537 ออกอากาศทาง ช่อง 5 นำแสดงโดย ลีลาวดี วัชโรบล
แม่นาคพระโขนง พ.ศ. 2543 ออกอากาศทาง ช่อง 3 นำแสดงโดย กุลณัฐ ปรียะวัฒน์, ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ
แม่นาคพระโขนง พ.ศ. 2543 ออกอากาศทาง ช่อง 7 นำแสดงโดย พัชราภา ไชยเชื้อ, พีท ทองเจือ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)